คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการจัดให้มีและรักษาไว้ซึ่งระบบการควบคุมภายใน และการประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ รวมถึงการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ และการกำหนดวงเงินอนุมัติของฝ่ายบริหารในแต่ละระดับ ตลอดจนมีการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติของพนักงานแต่ละสายงานไว้อย่างชัดเจนการกำหนดกรอบปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ รวมถึงการมีมาตรการควบคุม และขั้นตอนในการทำรายการระหว่างกันของบริษัท กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และมีการใช้นโยบายบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งผู้สอบบัญชีมีความเป็นอิสระในการแสดงความเห็นและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ

การประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน

คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัทประจำปี 2560 แล้วมีสาระสำคัญทั้ง 5 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 การควบคุมภายในองค์กร (Control Environment)
ส่วนที่ 2 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ส่วนที่ 3 การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control Activities)
ส่วนที่ 4 ระบบสารสนเทศ และการสื่อสารข้อมูล (Information & Communication)
ส่วนที่ 5 ระบบการติดตาม (Monitoring Activities)

การบริหารความเสี่ยง

บริษัทฯ ได้ประเมินและติดตามความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ โดยจะวิเคราะห์เพื่อระบุปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อที่บริษัทจะดำเนินการจัดการและบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงด้านต่างๆ ตลอดจนกำหนดวิธีการในการตรวจติดตามเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของปัจจัยความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงอันที่จะมีผลกระทบกับบริษัท

บริษัทฯ ได้มีการจัดประชุมผู้บริหารเพื่อรายงานความคืบหน้าของปัญหา และการแก้ไขเป็นประจำทุกเดือน หรือตามกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และมีช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนในองค์กรเพื่อรับทราบและปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการในการติดตามเหตุการณ์และปัจจัยความเสี่ยงให้มีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพิจารณาและประเมินความเสี่ยงที่ต้องดำเนินการแก้ไขตามลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการลดความเสี่ยงเหล่านั้น เพื่อให้บริษัทดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้บริษัทได้มีการติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ว่าได้ปฏิบัติตามแผนการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการติดตามการปฏิบัติงาน โดยจะมีการรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการบริษัททุกเดือน

คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีหน่วยงานตรวจสอบภายในโดยมีนายนิพนธ์ สุนทราจารย์ เป็นหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบควบคุมภายในของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่กำหนดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร และการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายใน นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานต่างๆ ด้านการควบคุมภายในโดยมุ่งเน้นให้เกิดการควบคุมตนเอง (Self-Control)

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายในเรื่องจริยธรรม โดยที่กรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของบริษัทจะต้องพึงปฏิบัติในการใช้ข้อมูลภายในที่มีสาระสำคัญของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นรวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทโดยมีวิธีการดูแลผู้บริหารในการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนตนหรือผู้อื่นดังนี้

  1. ดำเนินการแจ้งให้ผู้บริหารฝ่ายต่างๆ เข้าใจถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัทของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ตลอดจนรายงานการปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
  2. ดำเนินการส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ผู้บริหารทราบว่าผู้บริหารที่ได้รับทราบข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญรวมถึงข้อมูลงบการเงินของบริษัทซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงระยะเวลา 1 เดือน และห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นสาระสำคัญนั้นต่อบุคคลอื่นก่อนที่งบการเงินหรือข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน ทั้งนี้บริษัทยังได้กำหนดโทษสำหรับกรณีที่มีการฝ่าฝืนในการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวไว้ในระเบียบของบริษัทโดยมีโทษตั้งแต่การตักเตือนด้วยวาจาจนถึงขั้นให้ออกจากงาน
  3. คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัท รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้ส่วนเสียหรือการทำรายการระหว่างกันของกรรมการและผู้บริหารต่อเลขานุการบริษัท

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี มีมติแต่งตั้งให้บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด เป็นสำนักงานสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับปี 2560 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาถึงภาระหน้าที่ในการสอบทานและตรวจสอบงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย เห็นควรกำหนดค่าสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 7,540,000 บาท ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยไม่มีการใช้บริการอื่นจากผู้สอบบัญชี

ข้อมูลเปรียบเทียบค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีในปีที่ผ่านมา

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ปี 2559 ปี 2560
1. ค่าสอบบัญชีของบริษัท 3,761,000 บาท 4,060,000 บาท
2. ค่าสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อย 7,270,000 บาท 7,540,000 บาท
3. ค่าบริการอื่นๆ - ไม่มี - - ไม่มี -

คณะกรรมการได้พิจารณาและทบทวนการนำหลักปฏิบัติตาม CG Code ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไปปรับใช้ตามบริบททางธุรกิจของบริษัทด้วยความรอบคอบ รับผิดชอบ และระมัดระวัง พบว่าบริษัทมีการปฏิบัติตาม CG Code ภายใต้หลักปฏิบัติย่อยจำนวน 37 รายการ และจากการดำเนินการพบว่า